เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
3.ทุจจริตวรรค 3.อกตัญญุตาสูตร

1. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
2. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
3. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
4. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แลย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
2. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
3. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
4. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก

ทิฏฐิสูตรที่ 2 จบ

3. อกตัญญุตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่รู้คุณและความเป็นผู้รู้คุณ

[223] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม 4 ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :339 }